

- หน้าหลัก
- ผลิตภัณฑ์และบริการ
- ซะกาต
- ความรู้เกี่ยวกับซะกาต
ความรู้เกี่ยวกับซะกาต

ซะกาต (การบริจาคภาคบังคับ) คำว่า “ซะกาต” เป็นคำภาษาอาหรับที่มีความหมายว่า “การขัดเกลาให้สะอาดบริสุทธิ์” “การเพิ่มพูน" เเละ“การเจริญงอกงาม”
ซะกาตคือหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญของศาสนาอิสลาม เป็นรุ่ก่น(หลักบัญญัติ)ที่สามของหลักบัญญัติห้าประการในอิสลาม คือ การกล่าวคำปฏิญาณ การละหมาด การจ่ายซะกาต การถือศีลอด และการทำฮัจย์ จะเห็นได้ว่าซะกาตถือเป็นหลักปฏิบัติในศาสนาอิสลามที่สำคัญรองลงมาจากการกล่าวคำปฏิญาณ และการละหมาด
การจ่ายซะกาตเป็นการขัดเกลาจิตใจของผู้มีทรัพย์สินให้สะอาดหมดจดจากความตระหนี่ถี่เหนียว ซึ่งเป็นมลทินที่เกาะกินจิตใจให้สกปรกและหยาบกระด้าง ขณะเดียวกันเป็นการซักฟอกทรัพย์สินที่หามาได้ให้สะอาดบริสุทธิ์
(โองการที่ 103 ซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ กล่าวว่า “จงรับเอาทานจากสมบัติของพวกเขา เพื่อเจ้า (มุฮัมมัด) จะได้ชำระพวกเขาให้สะอาดและขัดเกลาพวกเขา (ด้วยทานนั้น)”
ประเภททรัพย์สินที่ต้องจ่ายซะกาต
- โลหะเงินและทองคำ เงินสด เงินในบัญชี หุ้น สินค้า
- ผลผลิตจากการเกษตร
- ปศุสัตว์ เช่น แพะ แกะ วัว ควาย อูฐ
- ขุมทรัพย์ที่พบได้ในแผ่นดิน (สินแร่และทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้)
พิกัด (นิศอบ) อัตราการจ่ายซะกาตดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังตาราง ต่อไปนี้
ตัวอย่างการนับระยะเวลาที่ต้องจ่ายซะกาต
การเริ่มต้นปีซะกาตนั้น เริ่มต้นในวันที่คนผู้นั้นจ่ายซะกาตเป็นครั้งแรกนั้น คือ วันที่คนผู้นั้นมีทรัพย์สินครบพิกัดอัตราที่ศาสนากำหนดไว้(นิศอบ) (เท่าราคาทองคำหนัก 85 กรัม หรือประมาณ 5.66 บาท) หลักจากนั้นเมื่อถือครองทรัพย์สินดังกล่าวครบปีจันทร์คติซึ่งมี 355 วัน หากยังมีทรัพย์สินอยู่ครบพิกัดอัตราที่ศาสนากำหนด จำเป็นต้องจ่ายซะกาต 2.5%จากทรัพย์สิน
-ซะกาตเป็นเครื่องมือในการรักษาความสมดุล และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของชุมชน ตลอดจนยกระดับความเป็นอยู่ในชุมชน -ซะกาตจะช่วยลบล้างบาปกรรมต่างๆ และการไม่มีบาปจะเป็นสาเหตุให้ได้เข้าสวรรค์และรอดพ้นจากไฟนรก -ซะกาตทำให้ชีวิตมีความสะอาดปลอดจากความต่ำต้อยของความโลภและความตระหนี่ -ซะกาตจะเป็นสะพานเชื่อมที่แข็งแรงระหว่างคนรวยและคนจน ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ และเป็นสุข -ซะกาตทำให้ทุกคนอยู่กันอย่างสันติ รักใคร่กันและช่วยเหลือกัน -ซะกาตเพิ่มพูนความดีให้แก่ผู้ที่จ่ายซะกาต -ซะกาตทำให้เกิดความเจริญ และเพิ่มพูนของทรัพย์สิน |
การจ่ายซะกาตเป็นบทบัญญัติทางกฏหมายอิสลามที่กำหนดให้บุคคลและนิติบุคคลมุสลิมที่มีทรัพย์สินถึงพิกัด (นิศอบ) ตามกำหนดระยะเวลาที่ศาสนากำหนดของทรัพย์สินแต่ละประเภท จำเป็นต้องจ่ายทรัพย์สินนี้ออกไปจำนวนหนึ่งในอัตราที่ศาสนากำหนดไว้ข้างต้น พิจารณาจากผู้มีสิทธิ์รับซะกาตจากบุคคล 8 ประเภท โดยสอดคล้องกับบัญญัติศาสนาอิสลาม ดังระบุในซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ โองการที่ 60 ความว่า"แท้จริงทานทั้งหลาย(ซะกาต) สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจใกล้ชิดกับอิสลาม และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่มีหนี้สินล้นตัว และในหนทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่อยู่ระหว่างเดินทางเท่านั้น ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นที่ได้กำหนดมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺย่อมรู้อีกทั้งปรีชาญาณยิ่ง" บุคคลที่มีสิทธิ์รับเงินซะกาตตามหลักการของศาสนาอิสลาม 8 ประเภท ดังนี้ 1. ฟะกีร หมายถึง คนยากจน หรือ บุคคลที่ไม่ได้ครอบครองทรัพย์สินใดๆเลย หรือไม่มี งานการที่แน่นอน และไม่สามารถตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของตนได้ 2. มิสกีน หมายถึง คนขัดสน หรือบุคคลที่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่าคนในประเภทที่ 1 โดยได้รับรายได้ในระดับเส้นแห่งความยากจน พวกเขาอาจมีงานทำที่แน่นอนและ มีทรัพย์สินอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่อาจตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของตัวเองได้ 3. มุอัลลัฟ หมายถึง คนที่เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ๆ รวมถึงผู้ที่มีแนวโน้มจะเข้ารับอิสลาม พวกเขาจะได้รับเงินซะกาตเพื่อร้อยรัดความเป็นพี่น้องกันและเพื่อกล่อมเกลาจิตใจเขาให้มั่นคงกับอิสลามตลอดไป 4. อัลฆอริมีน หมายถึง คนมีหนี้สิน ที่ไม่ผิดต่อแนวทางแห่งอิสลาม 5. อามิล หมายถึง ผู้เก็บซะกาตที่มีสิทธิได้รับซะกาต เนื่องจากการบริการของเขา 6. อัรริกอบ หมายถึง บ่าวทาสที่ต้องปลดปล่อยให้เป็นไท ซึ่งในยุคนี้ไม่มีทาส อันนี้ จึงเปรียบเทียบกับรูปแบบของการตกเป็นทาสในทางอ้อม 7. อิบนุสะบีล หมายถึง ผู้ที่เดินทาง และเป็นการเดินทางที่ไม่ผิดต่อหลักการของศาสนา 8. ฟีสะบีลิลลาฮฺ คือ ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในลักษณะของการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เป็นการจ่ายในหนทางของศาสนาอิสลาม |
การจ่ายซะกาตเป็นบทบัญญัติทางกฏหมายอิสลาม ที่กำหนดให้บุคคลและนิติบุคคลที่เป็นมุสลิม ซึ่งมีทรัพย์สินถึงพิกัด(นิศอบ)ตามกำหนดระยะเวลาที่ศาสนากำหนดของทรัพย์สินแต่ละประเภท จำเป็นต้องจ่ายทรัพย์สินนี้ออกไปจำนวนหนึ่งในอัตราที่ศาสนากำหนดไว้ข้างต้น
ข่าวสารและ
กิจกรรม
+ ดูทั้งหมดปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ที่กระจายไปทั่วโลก ก่อให้เกิดการชะงักงันของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการยกเลิกกิจกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก
ไอแบงก์ มอบเงินซะกาตช่วยเหลือผู้มีสิทธิ์รับซะกาตรวม 25 ราย
ไอแบงก์ มอบซะกาตนักเรียนขาดแคลนทุนทรัพย์