

- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับ ibank
- การกำกับดูแลกิจการ
- นโยบายและเป้าหมายการกำกับดูแลกิจการ
นโยบายและเป้าหมายการกำกับดูแลกิจการ

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารแห่งเดียวในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจโดยนำหลักชะรีอะฮ์อย่างเต็มรูปแบบมาเป็นหลักในการกำหนดแนวคิดและวิธีการดำเนินงานของธนาคาร เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ (State-Owned Enterprises) ที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการด้านการเงินตามหลักชะรีอะฮ์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีหลักคำสอนหลายประการที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ซ.ล.) ได้สอนให้มนุษย์ทุกคนใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีแก่ใคร นอกจากนั้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารได้นำเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย หลักการกำกับดูแลกิจการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหลักสากลของ OECD/World Bank นำมาประกอบเป็นมาตรฐานในการกำกับดูแลการดำเนินงานของธนาคาร เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับความเป็นธรรม การบริหารจัดการธนาคารของรัฐในการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ถ่วงดุลอำนาจที่ตรวจสอบได้
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคารมีทั้งหมด 6 หมวด ทั้ง 6 หมวดนี้ได้นำหลักธรรมาภิบาลตามมาตรฐานสากล 7 ประการ โดยจัดโครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการภายในองค์กร เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการของการถ่วงดุลและการกระจายอำนาจของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย โดยสะท้อนถึงองค์ประกอบ 7 ประการ อันประกอบไปด้วย
- Integrity คือ คุณสมบัติด้านความซื่อสัตย์ สุจริต และคุณธรรม
- Transparency คือ คุณสมบัติด้านความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตรวจสอบได้
- Accountability คือ คุณสมบัติด้านความรับผิดชอบต่อผลงาน หมายถึงต้องมีความรู้ ความสามารถ ความน่าเชื่อถือ ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพในระดับที่ธนาคารมีความคาดหวังในตัวบุคลากรนั้นๆ ในการเป็นผู้นำหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นั้นๆเยี่ยงผู้ประกอบการ ผู้บริหารและพนักงานธนาคารทุกคนต้องนำเอาความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของตนเองมาใช้กับองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- Responsibility คือคุณสมบัติด้านความรับผิดชอบในหน้าที่ หมายถึงต้องมีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวังและรอบคอบ มีความเข้าใจ เอาใจใส่ ทุ่มเท กระตือรือร้นให้งานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบนั้น บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด ทันเวลา ด้วยความเอาใจใส่อย่างมีวินัย ไม่ชักช้า เพื่อประโยชนสูงสุดขององค์กร
- ทำหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง – Duty of Care
- ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต – Duty of Loyalty
- ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม – Best Interest of the Bank - Equitable Treatment คือ คุณสมบัติด้านการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน เช่น กรรมการทุกคนอาจมีบทบาทหน้าที่ต่างกัน แต่มีความรับผิดชอบเท่าเทียมกันทุกคน การกำหนดให้คณะกรรมการและผู้บริหารเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียของตนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางตรง และ/หรือ ทางอ้อมกับธนาคาร
กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างต้องมีการเผยแพร่พร้อมข้อกำหนด TOR อย่างเปิดเผย รวมถึงมูลค่างานที่ว่าจ้าง ทั้งก่อนและหลังการว่าจ้างบน Website ของธนาคาร เป็นต้น - Best Practice คือ คุณสมบัติในการส่งเสริมพัฒนาการกำกับดูแลด้านจรรยาบรรณและจริยธรรมที่ดีในเชิงวิชาชีพ เช่น หากมีการร้องเรียนใดๆ ต้องจัดให้มีช่องทางการร้องเรียนและมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและดำเนินการตอบข้อร้องเรียนให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด
- Participation คือ คุณสมบัติการส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสีย มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการใดๆที่จะส่งผลกระทบต่อตัวบุคคล หน่วยงาน คุณภาพชีวิต ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบด้าน Corporate Social Responsibilities and Contribution เป็นต้น