

- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับ ibank
- ข้อมูลธนาคาร
- คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ

- เป็นผู้นำของคณะกรรมการธนาคารในการกำกับดูแลเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ของธนาคาร
- ให้คำแนะนำและสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ แต่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานประจำของธนาคาร
- เรียกประชุมคณะกรรมการธนาคารและพิจารณากำหนดวาระการประชุมร่วมกับผู้จัดการ
- ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารและที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงควบคุม กำกับดูแลให้การประชุมคณะกรรมการธนาคารและการประชุมผู้ถือหุ้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามข้อบังคับ กฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
- ทำหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมให้กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุม และปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- เป็นผู้ลงคะแนนชี้ขาดในกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารและ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีการลงคะแนนเสียงเท่ากัน
- กำหนดนโยบายภาพรวมการลงทุนของธนาคาร กำหนดทิศทางนโยบายการลงทุนของบริษัทที่ธนาคาร ควรลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของธนาคาร และมีอำนาจอนุมัติแนวทางในการลงทุนและอนุมัติการลงทุนทั้งหมดของธนาคารตามที่ระเบียบกำหนด
- พิจารณาอนุมัติส่วนสูญเสียที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือที่มิได้เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภายในวงเงินที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- พิจารณาอนุมัติการให้สินเชื่อ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การลงทุนในหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ การขอรับการสนับสนุนทางการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง และค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามอำนาจที่กำหนดไว้โดยคณะกรรมการธนาคาร
- เสนอแนะโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงเสนอแนะนโยบายและกลยุทธ์ ด้านบุคลากร กรอบอัตรากำลัง ค่าตอบแทน และสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อให้คณะกรรมการธนาคารเห็นชอบ
- พิจารณาทบทวนแผนแม่บทในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของธนาคารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงโครงการต่อเนื่องต่างๆ
- ให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงานของธนาคารในเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร บุคลากร ค่าตอบแทน สวัสดิการ การพัฒนาปรับปรุงองค์กรให้เป็นพลวัตรและยั่งยืน รวมถึงให้คำปรึกษาแนะนำในการจ้างสถาบันการศึกษา บริษัทที่ปรึกษาภายนอก หรือที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลของธนาคารให้เหมาะสม
- พัฒนาทรัพยากรบุคคลทุกระดับให้มีความพร้อมในทุกด้าน เพื่อให้บุคลากรมีวิสัยทัศน์ มีความรอบรู้ รวมทั้งมีบุคลิกภาพ และมีจิตสำนึกที่ดี
- พิจารณากลั่นกรองงานที่ไม่อยู่ในอำนาจของคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการธนาคาร
- พิจารณาเรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญกับธนาคาร เช่น ธุรกิจใหม่ นโยบายผลตอบแทน นโยบายสินเชื่อ นโยบายการบัญชี และคดีความที่ธนาคารตกเป็นจำเลย
- พิจารณาอนุมัติ หรือ รับทราบกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานที่คณะอนุกรรมการบริหารเห็นว่าจำเป็นหรือสมควรที่จะให้เสนอ
- พิจารณาเรื่องอื่นใดที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- พิจารณาสอบทานให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
- พิจารณาสอบทานให้ธนาคารมีระบบควบคุมภายใน (Internal control) และการตรวจสอบภายใน (Internal audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
- พิจารณาสอบทานให้ธนาคารปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติงาน มติคณะรัฐมนตรี ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธนาคาร
- พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีเพื่อเสนอให้คณะกรรมการธนาคาร ติดตามผลการปฏิบัติงาน และพิจารณาค่าตอบแทนในการสอบบัญชี
- พิจารณาตัดสินในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานทางการเงินไม่ตรงกัน
- พิจารณาการปฏิบัติงานอื่นที่ไม่ใช่งานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีที่จะดำเนินการให้กับธนาคาร
- พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน กำหนดค่าตอบแทนและพิจารณาความดีความชอบประจำปีของผู้บริหารสูงสุดของฝ่ายตรวจสอบภายใน
- พิจารณารายการเกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีโอกาสเกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของธนาคาร
- พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของธนาคาร โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์รวมถึงธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account) ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
- กําหนดหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญต่อการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร และต้องเปิดเผยในรายงานประจําปีของธนาคาร
- รายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อดําเนินการปรับปรุงแก้ไข ภายในเวลาที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ในกรณีที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการที่เกิดหรืออาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สําคัญในระบบควบคุมภายใน การฝ่าฝืนกฎหมายจัดตั้งของธนาคาร ข้อกําหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร
- จัดทำกฎบัตรของคณะอนุกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานของธนาคาร โดยต้องได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร
- จัดทํารายงานการกํากับดูแลกิจการของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจําปีของธนาคาร
- สอบทานและอนุมัติ ระเบียบ กฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายใน จรรยาบรรณผู้ตรวจสอบภายใน คู่มือปฏิบัติ และขอบเขตการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน แผนการตรวจสอบและงบประมาณของฝ่ายตรวจสอบภายใน
- ประชุมกับผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน และที่ปรึกษาภายนอกตามความจำเป็นและเหมาะสม
- ให้มีอำนาจเรียกข้อมูล เอกสาร บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของธนาคาร และขอข้อมูลและความร่วมมือจากบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
- จัดหาที่ปรึกษาจากภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการให้คำแนะนำหรือช่วยในการปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยใช้ค่าใช้จ่ายของธนาคาร
- มอบหมายอำนาจให้กับคณะทำงานในคณะอนุกรรมการตรวจสอบ (ถ้ามี) ตามความเหมาะสม
- ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดหรือคณะกรรมการธนาคารมอบหมาย ทั้งนี้ ต้องอยู่ในขอบเขต หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ
1. ให้คำแนะนำคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับกรอบการกำกับดูแลความเสี่ยง
ของธนาคาร
2. ดูแลให้ผู้บริหารระดับสูง รวมถึงหัวหน้าหน่วยงานบริหารความเสี่ยงปฏิบัติตาม
นโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงรวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
3. ดูแลให้กลยุทธ์ในการบริหารเงินกองทุนและสภาพคล่องเพื่อรองรับความเสี่ยงต่าง ๆ
ของธนาคารมีความสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่ได้รับอนุมัติ
4. ทบทวน สอบทานความเพียงพอและประสิทธิผลของนโยบาย และกลยุทธ์การ
บริหารความเสี่ยงโดยรวมรวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างน้อยปีละครั้ง หรือ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญโดยคณะอนุกรรมการกำกับความเสี่ยงควร
หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับคณะอนุกรรมการตรวจสอบเพื่อประเมินว่า
นโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของธนาคารครอบคลุมความเสี่ยงทุก
ประเภทรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ และมีการดำเนินการตามนโยบายและ
กลยุทธ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. รายงานต่อคณะกรรมการธนาคารถึงฐานะความเสี่ยง ประสิทธิภาพการบริหาร
ความเสี่ยง และสถานะการปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง
ตลอดจนปัจจัยและปัญหาที่มีนัยสำคัญ และสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้
สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร
6. มีความเห็นหรือมีส่วนร่วมในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติ
งานของหัวหน้าหน่วยงานบริหารความเสี่ยง
7. มอบหมายและดูแลให้ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบาย กระบวนการดำเนินธุรกิจ ซึ่ง
รวมถึงกระบวนการกำหนดราคาภายใน และการกำหนดเพดานความเสี่ยงที่
สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงโดยรวม และระดับ
ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมทั้งสื่อสารให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรับทราบ ตลอดจนควบคุม
ความเสี่ยงให้อยู่ภายในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเพดานความเสี่ยงที่กำหนด
8. มอบหมายและดูแลให้ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบาย กระบวนการ และระบบการ
บริหารความเสี่ยงในภาพรวมและประเภทความเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงแนวทางหรือวิธี
ปฏิบัติในการระบุ ประเมิน ติดตามควบคุมและรายงานความเสี่ยงรวมถึงระบบ ข้อมูล
ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถรองรับการบริหารจัดการและรายงานความเสี่ยงที่มีนัย
สำคัญ โดยต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านชะรีอะฮ์ ความ
เสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยง ด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้าน
ปฏิบัติการ และความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการใช้แบบจำลองใน
การบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
กำหนด และมีการประเมินและทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบจำลองเป็นประจำ
9. พิจารณา ติดตามและทบทวนการประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน
ของธนาคาร
10. บูรณาการกระบวนการทำงานที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance)
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและหลักเกณฑ์ (Compliance) เพื่อให้บรรลุ
การดำเนินงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงาน (Integrity-Driven
Performance)
11. ให้มีอำนาจอนุมัติทุกกรณี สำหรับการไม่จัดกลุ่มลูกหนี้ โดยพิจารณาจากผลการ
พิสูจน์ ผู้ที่เกี่ยวข้องตามข้อบ่งชี้ที่ระบุในแนวทางการพิสูจน์ผู้ที่เกี่ยวข้องตามหลัก
เกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
12. ให้มีอำนาจเรียกข้อมูล เอกสาร บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบ หรือ
ให้คำชี้แจงได้ และส่งรายงานการประชุมให้คณะกรรมการธนาคารรับทราบด้วย
13. ให้มีอำนาจในการแต่งตั้งที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ชำนาญการ เพื่อให้คำปรึกษา
ความเห็นหรือข้อเสนอแนะด้านการบริหารความเสี่ยงและอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อ
ธนาคาร โดยให้ได้รับค่าตอบแทนตามที่คณะอนุกรรมการกำกับความเสี่ยงกำหนด
14. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- พิจารณากลั่นกรองการออกหรือทบทวนระเบียบและข้อบังคับทั้งหลายของธนาคารที่ออกตามกฎหมายหรือข้อกำหนดของธนาคาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบริหารงานธนาคารและดำเนินกิจการโดยทั่วไปของธนาคาร โดยให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะการใช้อำนาจในการออก การบังคับใช้ และการกำหนดแนวทางรูปแบบและประเด็นข้อกฎหมายของระเบียบและข้อบังคับ รวมทั้งพิจารณาสรุป และรวบรวมความสมบูรณ์ครบถ้วนของเนื้อหาระเบียบและข้อบังคับก่อนนำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ
- ทบทวน นโยบาย กฎบัตรของการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการธนาคารอนุมัติ
- มีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน หรือพนักงานของหน่วยงานธนาคาร เพื่อปฏิบัติงานตามที่มอบหมาย
- มีอำนาจเชิญคณะทำงาน หรือพนักงานของหน่วยงานธนาคาร เพื่อให้ข้อมูลหรือชี้แจงประกอบการพิจารณา
- พิจารณาและมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะการรายงานผลการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และการ
สอบทานสินเชื่อ และรายงานคณะกรรมการธนาคารทราบ
- ให้ความเห็นชอบต่อรายงานการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ประจำปี (Annual Compliance Report) รวมถึงแผนงานการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และการสอบทานสินเชื่อ
- ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของฝ่ายกำกับการปฏิบัติงานและระเบียบ และฝ่ายสอบทานสินเชื่อ
- รายงานต่อคณะกรรมการธนาคาร เพื่อปรับปรุงแก้ไข กรณี คณะอนุกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ พบหรือมีข้อสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐานและแนวปฏิบัติที่บังคับใช้
กับธุรกรรมต่างๆ ของธนาคาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance Risk) - ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
1. เสนอนโยบายเกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคม
ของธนาคารต่อคณะกรรมการธนาคาร
2. พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อ
สังคมและสิ่งแวดล้อมของธนาคารอย่างต่อเนื่อง
3. กำหนดกรอบแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมธนาคาร
อิสลามแห่งประเทศไทย
4. ให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินธุรกิจของธนาคารให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของ
แผนการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมประจำปีของ
ธนาคาร
5. ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลวัฒนธรรม และแนวทางในการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่าง
โปร่งใสเพื่อสร้างความเข้าใจทั่วทุกระดับและให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และการมีส่วน
ร่วมของคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างธนาคาร ชุมชน ลูกค้า
และประชาชนทั่วไปในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืน
6. บูรณาการกระบวนการทำงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance)
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและหลักเกณฑ์ (Compliance) เพื่อให้บรรลุ
การดำเนินงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงาน (Integrity – Driven
Performance)
7. ติดตามการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม
ของธนาคารและรายงานต่อคณะกรรมการธนาคาร
8. กำกับกระบวนการปฏิบัติงานของธนาคารอย่างบูรณาการด้วยการกำกับดูแล
กิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคาร ตลอดจนกำกับการจัดทำ
รายงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ของธนาคารประจำปี
9. พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงาน หรือที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการธรรมาภิบาลและความ
รับผิดชอบต่อสังคม (CG&CSR) เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนงานด้านการกำกับดูแล
กิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- กำหนดแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ชัดเจน เพื่อการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการที่ดี (Information Technology & Information Technology Governance : IT & ITG) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการดำเนินงาน และควบคุมดูแลการพัฒนาระบบสารสนเทศของธนาคาร
- ปรับปรุงแผนปฏิบัติการดิจิทัล (Digital Roadmap) ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการและนโยบาย รวมทั้งกลยุทธ์ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมขององค์กร เพื่อให้สนองตอบต่อแผนธุรกิจของธนาคาร และให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับภายนอกที่ธนาคารต้องปฏิบัติตาม
- พิจารณาการลงทุน จุดคุ้มทุนและความคุ้มค่าของระบบงานต่างๆ เพื่อประเมินศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งทางด้านการเงินและมิใช่การเงิน และความเหมาะสมเกี่ยวกับระบบงานสารสนเทศที่จะดำเนินการ
- เสนอแนะแนวทางแก้ไข และให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคเกี่ยวกับระบบสารสนเทศของธนาคาร
- มีอำนาจในการเรียกข้อมูลเอกสาร บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบหรือให้คำชี้แจงได้และ
ส่งรายงานการประชุมให้คณะกรรมการธนาคารรับทราบ - ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
- พิจารณากลั่นกรองแผนการดำเนินงานที่ผู้จัดการธนาคารนำเสนอ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธนาคาร
- กำหนดแนวทางการประเมินให้สอดคล้องและสัมฤทธิ์ผลตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ พันธกิจ เป้าหมาย ในการปฏิบัติงานของธนาคาร และงบประมาณ ตามที่คณะกรรมการธนาคารได้ให้ความเห็นชอบไว้
- กำหนดเครื่องมือชี้วัดและวัดผลด้านความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการของผู้จัดการธนาคาร
- พิจารณากลั่นกรองผลการปฏิบัติงานและประเมินคุณภาพของผลงานตามแผนงานที่ผู้จัดการธนาคารเสนอ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคารแล้ว
- ให้ข้อเสนอแนะนำผลการประเมินพร้อมทั้งปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของการดำเนินงานของผู้จัดการธนาคาร และแผนแก้ไขปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการธนาคาร
- ทบทวนเป้าหมายและหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานสำหรับผู้จัดการธนาคาร เพื่อให้คณะกรรมการธนาคารเห็นชอบ
- นำเสนอผลการปฏิบัติงานเทียบกับเป้าหมายและหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณากำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่เหมาะสม
คณะอนุกรรมการซะกาตมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการบัญชีซะกาตและบัญชีซะกาตจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และถูกต้องตามหลักการและเงื่อนไขของศาสนาอิสลาม และให้ดำเนินการตามข้อบังคับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11 ว่าด้วย การดำเนินธุรกรรมของธนาคาร พ.ศ.2553 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการบัญชีซะกาต
- พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการแรงงานสัมพันธ์
- หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- พิจารณาปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการทำงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้างและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาตามคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน รวมถึงการร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย
- ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง
-
28 เมษายน 2563
-
28 เมษายน 2563
-
28 เมษายน 2563
-
4 กุมภาพันธ์ 2564