
ไอแบงก์ร่วมสานฝันทางการศึกษาและส่งเสริมทุนทางปัญญาให้กับนักเรียน นักศึกษาด้วยการให้บริการกองทุนให้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
การเปิดบัญชีเพื่อรับเงินโอน กยศ. จากธนาคารอิสลามฯ ของนักศึกษา
- น้องๆ สามารถเปิดบัญชีกับไอแบงก์เพื่อรับเงินโอนค่าครองชีพรายเดือน เปิดบัญชี "0" (ศูนย์) บาท และ"ฟรีค่าธรรมเนียมบัตร ATM ใบแรก ปีแรก" ปีต่อไปค่าธรรมเนียม 150 บาทเท่านั้น
- กดเงินตู้ ATM ตู้ไหนก็ได้ ไม่เกิน 4 ครั้งต่อเดือน ฟรีค่าธรรมเนียมในเขตพื้นที่เดียวกัน
กยศ. เพิ่มโอกาสทางการศึกษาพร้อมให้กู้ยืม 4 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
- รายได้ครอบครัวต่อปีไม่เกิน 360,000 บาท
- ศึกษาในระดับมัธยมปลาย / ปวช. / ปวท. / ปวส. / อนุปริญญาและปริญญาตรี
- ให้กู้ยืมเงินเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และ ค่าครองชีพ
- อายุ (ปีแรกที่กู้ยืม) ไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
ลักษณะที่ 2 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และ
ลักษณะที่ 3 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ
- ศึกษาในระดับ ปวช. / ปวท. / ปวส. / อนุปริญญาและปริญญาตรี
- ให้กู้ยืมเงินเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
- อายุ (ปีแรกที่กู้ยืม) ไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
*หากเป็นผู้กู้ยืมที่มีรายได้ครอบครัวต่อปีไม่เกิน 360,000 บาท จะสามารถกู้ยืมค่าครองชีพได้
ลักษณะที่ 4 นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ เพื่อสร้างความเป็นเลิศด้านการวิจัยและ สร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ
- ศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณทิตและปริญญาโท (สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00)
- ให้กู้ยืมเงินเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
- อายุ (ปีแรกที่กู้ยืม) ไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์
*หากเป็นผู้กู้ยืมที่มีรายได้ครอบครัวต่อปีไม่เกิน 360,000 บาท จะสามารถกู้ยืมค่าครองชีพได้
ขั้นตอนการให้กู้ยืมเงิน ระบบการกู้ยืมกองทุน กยศ. แบบดิจิทัล (DSL)
** ผู้กู้ยืมทุกคนต้องลงทะเบียนขอรหัสเข้าใช้งานระบบ DSL บนแอปพลิเคชัน กยศ. Connect หรือ เว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th เพื่อนำไปดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.สถานศึกษาเตรียมการให้กู้ยืม
-บันทึกปฏิทินการศึกษา และ ค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร
2.สถานศึกษารายงานสถานภาพการศึกษาของผู้กู้ยืม
3.การยื่นคำขอกู้ยืมบนระบบ
- ผู้กู้ยืม ยื่นคำขอกู้ยืมบนระบบ
- สถานศึกษา ตรวจสอบคำขอกู้ยืมและส่งเอกสารคำขอกู้ยืม
4.ระบบตรวจสอบคุณสมบัติ กองทุน กยศ. วิเคราะห์อนุมัติคำขอกู้ยืมผ่านระบบ
5.จัดทำสัญญากู้ยืมเงิน
- ผู้กู้ยืมเงิน ผู้ค้ำประกัน ผู้แทนโดยชอบธรรม (ถ้ามี) ลงนามสัญญากู้ยืมเงิน
- สถานศึกษาส่งสัญญากู้ยืมเงินและเอกสารประกอบให้ธนาคาร
6.การเบิกเงินกู้ยืมและลงนามแบบยืนยัน
- สถานศึกษาบันทึกค่าใช้จ่ายลงทะเบียน
- ผู้กู้ยืม ยืนยันเบิกเงิน
- ผู้กู้ยืม, ผู้แทนโดยชอบธรรม (ถ้ามี) ลงนามแบบเบิกเงิน
- สถานศึกษา ส่งแบบเบิกเงินและเอกสารประกอบ พร้อมทั้งส่งข้อมูลผ่านระบบเพื่อดำเนินการโอนเงิน
7.สถานศึกษารายงานการคืนเงินประจำภาคเรียน (ถ้ามี)
ช่องทางการชำระหนี้ กยศ.
สมัครใช้บริการ
อัตรากำไรสินเชื่อ
ผลตอบแทนเงินฝาก
อัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ
รายการ/ชื่อเรื่อง | จำนวนเงิน |
---|