

- หน้าหลัก
- ประกาศความเป็นส่วนตัว
ประกาศความเป็นส่วนตัว

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สังกัดกระทรวงการคลัง และอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นธนาคารที่ดำเนินธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม โดยมุ่งเน้นที่จะให้บริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร ซึ่งการได้รับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นจากลูกค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ธนาคารมีความตระหนักถึงความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลดังกล่าว มีระบบในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินงานที่รัดกุมอีกทั้งมาตรการในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันการเข้าถึง เปิดเผย นำไปใช้หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยมิได้รับอนุญาต ดังนั้น ธนาคารจึงจัดทำประกาศฉบับนี้ขึ้นเพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล การทำลายข้อมูล อีกทั้งสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
1.1 ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปที่เป็นข้อมูลแสดงตัวตนของลูกค้า (Identity Data) ซึ่งหมายถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดาที่ทำให้สามารถระบุตัวตนลูกค้ารายนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ/นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง วัน/เดือน/ปีเกิด รวมถึงข้อมูลอ่อนไหว เช่น ข้อมูลชีวภาพลายนิ้วมือ ข้อมูลใบหน้า) เป็นต้น
1.2 ข้อมูลติดต่อของลูกค้า (Contact Data) เช่น ที่อยู่ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์
1.3 ข้อมูลทางการเงินหรือข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้ากับธนาคาร (Financial and Transaction Data) เช่น หมายเลขบัญชีเงินฝาก หรือ รายงานข้อมูลการเบิก/ถอนเงินในบัญชี ข้อมูลรายได้ รายจ่าย ยอดเงินฝากที่มีกับธนาคาร ประวัติสินเชื่อที่มีอยู่กับธนาคาร หรือข้อมูลการชำระหนี้ ข้อมูลจากฐานข้อมูลของกรมบังคับคดี เป็นต้น
1.4 ข้อมูลความชื่นชอบของลูกค้าในการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (Technical and Usage Data) เช่น การค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ของธนาคาร (Website Browsing) จากการใช้ Cookies หรือการเชื่อมต่อเว็บไซต์อื่นๆ ที่ลูกค้าเข้าไปค้นหาข้อมูล เป็นต้น
1.5 ข้อมูลการติดต่อกับธนาคาร (Communication Data) เช่น เทปบันทึกในกรณีที่ลูกค้า เข้ามาติดต่อธนาคาร ผ่านทาง Call Center ซึ่งอาจเป็นภาพหรือเสียง เป็นต้น และไม่ว่าลูกค้าได้ให้ข้อมูลไว้หรือมีอยู่กับธนาคาร หรือ ที่ธนาคารได้รับ หรือ เข้าถึงได้จากแหล่งอื่นที่น่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานราชการ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร และ/หรือบริษัทพันธมิตรของธนาคาร หรือที่ปรึกษาของธนาคาร
ธนาคารทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของธนาคาร เพื่อประโยชน์ของท่านในการทำธุรกรรมและ/หรือใช้บริการกับธนาคาร เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ/หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้แก่ธนาคาร ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1 การปฏิบัติตามสัญญาระหว่างลูกค้ากับธนาคาร เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ของลูกค้า การปฏิบัติตามกระบวนการภายในของธนาคาร การทำประกันภัยทรัพย์หลักประกัน การโอนกลุ่มลูกหนี้ให้แก่บุคคลอื่น การรับ-ส่งเอกสารติดต่อระหว่างลูกค้ากับธนาคาร การทวงถามให้ลูกค้าชำระหนี้ที่ค้างตามสัญญาสินเชื่อที่มีกับธนาคาร
2.2 การปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น การป้องกันและตรวจจับความผิดปรกติของธุรกรรมที่นำไปสู่กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย การรายงานข้อมูลของลูกค้าต่อกรมสรรพากร การรายงานข้อมูลส่วนบุคคลต่อหน่วยงานราชการ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ กรมสรรพากร หรือ เมื่อได้รับหมายเรียก หมายอายัดจากหน่วยงานราชการ หรือ ศาล เป็นต้น
2.3 ประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของธนาคาร เช่น
2.3.1 การป้องกัน รับมือ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งรวมถึงการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานของบริษัทในธุรกิจเดียวกันในการป้องกัน รับมือ ลดความเสี่ยงข้างต้น
2.3.2 การบันทึกภาพผู้ที่มาติดต่อทำธุรกรรมกับสำนักงานหรือสาขาของธนาคารลงบน CCTV รวมถึงการแลกบัตรก่อนเข้าอาคาร เพื่อการรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณอาคารของธนาคาร
2.3.3 การบริหารความเสี่ยง/การกำกับตรวจสอบ/การบริหารจัดการภายในองค์กร การดำเนินธุรกิจของธนาคาร การสนับสนุนการให้บริการของธนาคาร รวมถึงการส่งต่อไปยังบริษัทในเครือกิจการและ/หรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อการดังกล่าวภายใต้นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเครือกิจการ (Binding Corporate Rules)
2.3.4 การตรวจสอบการรับส่งอีเมลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตของพนักงานกับลูกค้า เพื่อป้องกันการเปิดเผยข้อมูลลับของธนาคารต่อบุคคลภายนอก
2.3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ในประเภทเดียวกันกับที่ลูกค้ามีอยู่กับธนาคารและผลิตภัณฑ์อื่นของธนาคารให้แก่ลูกค้า อย่างเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าและ/หรือในการทำวิจัยทางการตลาด เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธนาคาร
2.3.6 การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น การจัดการข้อร้องเรียน การเสนอสิทธิประโยชน์พิเศษโดยไม่มีวัตถุประสงค์ทางการตลาดให้แก่ลูกค้า เป็นต้น
ทั้งนี้ หากลูกค้าไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับธนาคาร อาจส่งผลกระทบต่อลูกค้าในการไม่ได้รับการให้ผลิตภัณฑ์/บริการ ไม่ได้รับความสะดวก หรือไม่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญาและลูกค้าอาจได้รับความเสียหาย/เสียโอกาสและอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมายใดๆ ที่ลูกค้าหรือธนาคารต้องปฏิบัติตาม และอาจมีบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง
คุกกี้ คือ ไฟล์ข้อความ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลขนาดเล็กที่ถูกดาวน์โหลดและจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์ของคุณเมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ จากนั้นคุกกี้จะถูกส่งกลับไปยังเว็บไซต์เดิมในแต่ละครั้งที่คุณเข้าชมเว็บไซต์ดังกล่าว หรือถูกส่งไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ที่รองรับคุกกี้นั้นได้
การใช้คุกกี้และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันไม่ได้จำกัดเพียงการใช้ในเว็บไซต์และเว็บเบราว์เซอร์ แต่แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งโดยทั่วไป จะเชื่อมต่อกับเว็บไซต์และบริการบนเว็บไซต์ก็สามารถสร้างคุกกี้ได้เช่นกัน คุกกี้มีหน้าที่ทำงานได้หลากหลาย เช่น ช่วยให้คุณสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพจดจำสิ่งที่คุณชื่นชอบ และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้เว็บไซต์ นอกจากนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับโฆษณาออนไลน์ที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ที่มีการใช้งานบนเว็บไซต์ของธนาคาร คือ
คุกกี้ที่จำเป็นอย่างยิ่ง (Strictly Necessary Cookies) คุกกี้ประเภทนี้มีความสำคัญในการทำให้คุณสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของธนาคารได้ และในการให้บริการและฟังก์ชันต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของธนาคาร อาทิ การเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยบนเว็บไซต์ของธนาคาร หากไม่มีคุกกี้ประเภทนี้ เว็บไซต์ของธนาคารหรือบางฟังก์ชันบนเว็บไซต์อาจจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ รวมทั้งคุณจะไม่สามารถใช้บริการบางอย่างตามที่ร้องขอบนเว็บไซต์ของธนาคารได้
ธนาคารจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อบุคคลอื่น เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่านอย่างชัดแจ้ง หรือเป็นการทำธุรกรรมตามที่ระบุเงื่อนไขการให้บริการตามสัญญา หรือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือการใช้สิทธิประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของธนาคาร โดยธนาคารจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
4.1 เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่ ผู้ถือหุ้นของธนาคาร ผู้รับโอนสิทธิจากธนาคาร ผู้สนใจจะเข้าร่วมทุนในกิจการของธนาคาร
4.2 เปิดเผยข้อมูลให้แก่ Credit Bureau ที่ธนาคารเป็นสมาชิก
4.3 เปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอกตามที่ธนาคารได้รับความยินยอมจากลูกค้า
4.4 เปิดเผยข้อมูลเพื่อการทำธุรกรรม และ/หรือ การใช้บริการตามความประสงค์ของลูกค้า
4.5 เปิดเผยแก่ผู้บริการภายนอก (Outsource/Service Provider) ที่ธนาคารเป็นคู่สัญญา ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น ผู้ให้บริการ Cloud Computing บริษัทรับจ้างทำกิจกรรมทางการตลาด บริษัทรับจ้างทำวิจัยให้แก่ธนาคาร บริษัทรับจ้างพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ธนาคาร ผู้ประเมินราคาหลักประกัน ผู้รับจ้างติดตามทวงถามหนี้ สืบทรัพย์และยึดทรัพย์ ผู้รับจ้างตรวจสอบข้อมูลบุคคล ผู้ขอฟื้นฟูกิจการ ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือบุคคลล้มละลาย
4.6 เปิดเผยให้แก่หน่วยงานราชการหรือหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือเป็นไปตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ศาล รวมทั้งผู้สอบบัญชี
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอยู่ในความควบคุมของท่านได้มากขึ้น โดยลูกค้าสามารถใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เมื่อบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
5.1 สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (“Right to Access”)
ลูกค้ามีสิทธิขอทราบและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของธนาคาร หรือ ขอให้ธนาคารเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลที่ลูกค้าไม่ได้ให้ความยินยอมได้ เว้นแต่กรณีที่ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธคำขอลูกค้าได้ตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือกรณีที่คำขอของลูกค้าจะมีผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
5.2 สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (“Right to Rectification”)
ลูกค้ามีสิทธิขอให้ธนาคารดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
5.3 สิทธิในการถอนความยินยอม (“Right to Withdraw of Consent”)
ลูกค้ามีสิทธิขอเพิกถอนความยินยอมที่ให้ไว้กับธนาคารในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่การเพิกถอนความยินยอมจะมีข้อจำกัดโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่ลูกค้า เช่น ลูกค้ายังมีการใช้บริการ/ผลิตภัณฑ์จากธนาคาร หรือลูกค้ายังมีภาระหนี้/ภาระผูกพันอยู่กับธนาคาร เป็นต้น
5.4 สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (“Right to Data Portability”)
ลูกค้ามีสิทธิขอรับข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้าจากธนาคาร ในกรณีที่ธนาคารได้ทำให้ข้อมูลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่าน หรือ ใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้ง (ก) มีสิทธิขอให้ธนาคารส่งหรือโอนข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น เมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ (ข) ขอรับข้อมูลที่ธนาคารส่งหรือโอนข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่สภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
5.5 สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (“Right to Erasure” or “Right to be Forgotten”)
ลูกค้ามีสิทธิขอให้ธนาคารลบ หรือ ทำลาย หรือ ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลว่าเป็นลูกค้าได้ ในกรณีดังนี้
5.5.1 ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไม่มีความจำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอีกต่อไป
5.5.2 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทำการถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ธนาคารไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำการประมวลผลได้
5.5.3 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล คัดค้านการประมวลผลเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง
5.5.4 เป็นการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอันมิชอบด้วยกฎหมาย
5.5.5 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล คัดค้านการประมวลผลข้อมูล (นอกเหนือจากที่เกี่ยวข้องกับการคัดค้านการประมวลผลเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง) และธนาคารไม่มีเหตุแห่งการอ้างการประมวลผลโดยประโยชน์อันชอบธรรม
5.6 สิทธิในการห้ามมิให้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (“Right to Restriction of Processing”)
ลูกค้ามีสิทธิในการห้ามมิให้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตน เมื่อเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
5.6.1 การประมวลผลไม่จำเป็นอีกต่อไป แต่การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลยังคงมีความจำเป็นเพื่อการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย
5.6.2 เป็นการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอันมิชอบด้วยกฎหมาย แต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นต้องการห้ามมิให้มีการประมวลผลโดยแทนการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของตน
5.6.3 เมื่ออยู่ในระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ลูกค้าร้องขอ
5.6.4 เมื่อธนาคารอยู่ในระหว่างการพิสูจน์ให้เห็นถึงเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่สำคัญยิ่งกว่า
5.7 สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (“Right to Object”)
ลูกค้ามีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้า ในกรณีดังนี้
5.7.1 กรณีที่เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง
5.7.2 กรณีที่เป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ เว้นแต่การจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของธนาคาร
5.7.3 กรณีที่เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ด้วยเหตุจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของธนาคาร หรือ เหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของธนาคาร เว้นแต่ธนาคารแสดงให้เห็นถึงเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่สำคัญยิ่งกว่า หรือ เป็นไปเพื่อก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตาม หรือ การใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือ การยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
ธนาคารมีการกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติและมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ทั้งมาตรการในการบริหารจัดการ (Organization Measure) และมาตรการเชิงเทคนิค (Technical Measure) เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลของท่านโดยมิได้รับอนุญาตหรือการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ระบบสารสนเทศในการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด นโยบายการรักษาข้อมูลความลับของลูกค้า เป็นต้น และธนาคารได้มีการปรับปรุงนโยบาย แนวปฏิบัติและมาตรฐานขั้นต่ำดังกล่าวเป็นระยะๆ ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ให้บริการภายนอกของธนาคารก็มีหน้าที่ต้องรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าตามสัญญารักษาความลับที่ได้ลงนามไว้กับธนาคาร และในกรณีที่ธนาคารมีความจำเป็นต้องส่ง หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไปต่างประเทศที่มีมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลต่ำกว่าประเทศไทย
ในกรณีที่ลูกค้ายุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับธนาคารไปแล้ว ธนาคารจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าตามที่กฎหมายกำหนดและตามนโยบาย แนวปฏิบัติต่างๆในเรื่องการจัดเก็บ ทำลายเอกสารต่างๆของธนาคาร เช่น พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกำหนดให้จัดเก็บไว้อย่างน้อย 10 ปี เป็นต้น และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาในการเก็บแล้วธนาคารจะทำลายข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว
หากลูกค้าต้องการติดต่อหรือมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศความเป็นส่วนตัวของธนาคารโปรดติดต่อธนาคารตามช่องทางดังนี้
8.1 สถานที่ทำการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่ เลขที่ 66 อาคารนวม อโศก ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
8.2 เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร (Data Protection Officer : DPO) อีเมล dpo@ibank.co.th)
8.3 ศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) โทร 1302
8.4 Line Official : @ibank
หากลูกค้าต้องการใช้สิทธิตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อธนาคารผ่านช่องทางสำนัก/สาขาของธนาคาร
ธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศความเป็นส่วนตัวนี้เป็นครั้งคราว โดยธนาคารจะประกาศความเป็นส่วนตัวฉบับปัจจุบันไว้ที่เว็บไซต์ของธนาคาร www.ibank.co.th
ฉบับเดือน มิถุนายน 2565