เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างต่อธุรกิจและประชาชนทั่วไปทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจึงได้จัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม สำหรับกลุ่มสินเชื่อบุคคล และสินเชื่อเช่าซื้อ เพื่อช่วยผ่อนคลายผลกระทบผ่านมาตรการ เพื่อแบ่งเบาภาระในการชำระหนี้ โดยจัดทำข้อมูลประกอบเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้ทางเหมาะสม โดยธนาคารจัดให้มีทางเลือกให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยธนาคารอาจพิจารณาทางเลือกเพิ่มเติมจากความรุนแรงของผลกระทบ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมในช่วงสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระยะที่ 3 โดยกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือมีรายละเอียดดังนี้
1. คุณสมบัติของลูกหนี้
1. ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19
2. ไม่มีสถานะเป็น NPF ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
2. แนวทางมาตรการ
ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตามระดับความรุนแรงต่อรายได้ โดยต้องแสดงหลักฐานการได้รับผลกระทบ โดยแบ่งความรุนแรงของผลกระทบดังนี้
- ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบระยะสั้น เช่น ถูกลดชั่วโมงการทำงาน/เงินเดือน/ยอดขายลดลง ซึ่งกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ชั่วคราว
- ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบระยะยาว เช่น ถูกพักงานหรือเลิกจ้าง/ปิดกิจการ ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ได้
ธนาคารจัดให้มีทางเลือกให้ลูกหนี้สามารถเลือกได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามประเภทสินเชื่อ โดยธนาคารจะพิจารณาให้ความความช่วยเหลือตามระดับความรุนแรงของผลกระทบ
สินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกัน |
ลดค่างวดไม่เกิน 30% ของค่างวดเดิม ระยะเวลา 6 เดือน ไม่ขยายระยะเวลาและให้นำไปชำระในงวดสุดท้าย
|
- ข้อดี ลดภาระการผ่อนต่อเดือนลงในช่วงที่ได้รับผลกระทบ
- ข้อเสีย มีภาระที่ต้องผ่อนสูงขึ้นในงวดสุดท้าย
|
ตัวอย่างการคำนวณค่างวด : ภาระหนี้คงเหลือ 100,000 บาท ระยะวลาคงเหลือ 24 เดือน,อัตรากำไร 18.00%
รายละเอียดงวดผ่อน |
เดิม |
ใหม่ |
จ่ายปกติ |
ลดค่างวด 30% ไม่ขยายระยะเวลา |
ค่างวด1-6
|
5,100.00
|
3,570.00
|
ค่างวด7-23
|
5,100.00
|
5,100.00
|
งวดที่ 24
|
1,959.64
|
14,051.89
|
รวมกำไรที่จ่าย 1-24
|
19,319.33
|
22,599.87
|
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย / อเนกประสงค์แบบมีหลักประกัน (เลือกข้อใดข้อหนึ่ง) |
1.พักชำระเงินต้นและกำไร 3 เดือน โดยไม่ขยายระยะเวลาและให้นำไปชำระในงวดสุดท้าย
|
- ข้อดี ไม่ต้องชำระค่างวดในช่วงระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบ
- ข้อเสีย มีภาระที่ต้องผ่อนสูงขึ้นในงวดสุดท้าย
|
2.พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะกำไร) ไม่เกิน 6 เดือน โดยให้ขยายระยะวลาไม่เกินระยะเวลาที่พักชำระ
|
- ข้อดี ลดภาระการผ่อนต่อเดือนลงในช่วงที่ได้รับผลกระทบและไม่เป็นภาระการผ่อนชำระยอดที่สูงขึ้นในงวดสุดท้าย
- ข้อเสีย ระยะเวลาการผ่อนชำระนานขึ้น
|
3.พักชำระเงินต้น(ชำระเฉพาะกำไร) 3เดือน โดยไม่ขยายระยะเวลาและให้ปรับลดอัตรากำไรในระยะเวลาที่พักชำระหนี้ลง 0.25% เฉพาะบัญชีสินเชื่อที่อยู่ในช่วงการ ชำระค่างวดด้วยอัตรากำไรอ้างอิง SPRL
|
- ข้อดี ลดภาระการผ่อนต่อเดือนลงในช่วงที่ได้รับผลกระทบ
- ข้อเสีย มีภาระที่ต้องผ่อนสูงขึ้นในงวดสุดท้าย
|
4.สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบระยะยาว สามารถพักชำระเงินต้นและกำไร 3 เดือน โดยไม่ขยายระยะ เวลาและให้นำไปชำระในงวดสุดท้าย
|
- ข้อดี ไม่ต้องชำระค่างวดในช่วงระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบ
- ข้อเสีย มีภาระที่ต้องผ่อนสูงขึ้นในงวดสุดท้าย
|
ตัวอย่างการคำนวณค่างวด : ภาระหนี้คงเหลือ 1,000,000 บาท ,ระยะวลาคงเหลือ 60 เดือน,อัตรากำไร 5.00%
รายละเอียดงวดผ่อน |
ค่างวดเดิม |
ค่างวดใหม่ |
ทางเลือกที่ 1 |
ทางเลือกที่ 2 |
ทางเลือกที่ 3 |
ทางเลือกที่ 4 |
จ่ายปกติ |
ลดค่างวดลง 30% 6 เดือน |
พักต้น 6 เดือนขยายระยะเวลา |
พักต้น 3 เดือน(ลดอัตรากำไร 0.25%)ไม่ขยายระยะเวลา |
พักต้น+กำไร 3 เดือน ไม่ขยายระยะเวลา |
ค่างวด 1-3
|
19,000.00
|
13,300.00
|
ค่างวด 1-3
|
4,166.67
|
3,958.33
|
0.00
|
ค่างวด 4-6
|
19,000.00
|
13,300.00
|
ค่างวด 4-6
|
4,166.67
|
19,000.00
|
19,000.00
|
ค่างวด 7-59
|
19,000.00
|
19,000.00
|
ค่างวด 7-65
|
19,000.00
|
19,000.00
|
19,000.00
|
ค่างวด 60
|
10,243.10
|
53,500.94
|
ค่างวด 66
|
10,243.10
|
66,324.92
|
82,102.11
|
รวมกำไรที่จ่าย 1-60
|
131,243.10
|
140,300.94
|
รวมกำไรที่จ่าย 1-66
|
156,243.10
|
142,754.94
|
146,789.16
|
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ |
1.พักชำระเงินต้นและกำไร และขยายระยะเวลา 3 เดือน
|
- ข้อดี ไม่ต้องชำระค่างวดในช่วงระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบและไม่เป็นภาระการผ่อนยอดที่สูงขึ้นในงวดสุดท้าย
- ข้อเสีย ระยะเวลาการผ่อนชำระนานขึ้น
|
2.สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบระยะยาว การคืนรถในกรณีที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หากขายประมูลได้จริงต่ำกว่าภาระหนี้ธนาคารจะพิจารณาลดภาระหนี้ตามความเหมาะสม
|
- ข้อดี แบ่งเบาภาระหนี้จากการขายประมูลต่ำกว่าภาระหนี้คงเหลือ
- ข้อเสีย ลูกหนี้ไม่สามารถใช้ประโยชน์รถยนต์ เนื่องจากการขายทอดตลาด
|
หมายเหตุ
1. สินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกัน หมายถึง สินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยไม่นับรวมสินเชื่อสวัสดิการพนักงานบุคคลภายนอก (MOU)/ สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน Ibank /สินเชื่อบำเหน็จบำนาญข้าราชการ / สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย (MSMEs) และสำหรับลูกหนี้สินเชื่อสวัสดิการพนักงานบุคคลภายนอกที่ภายหลังลาออกและไม่สามารถหักบัญชีเงินเดือน (MOU ลาออก) สามารถยื่นขอรับมาตรการตามเกณฑ์นี้ได้
2. กรณีลูกหนี้ประสงค์จะรวมหนี้ สินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่กับธนาคาร ให้ดำเนินการตาม “ประมาศมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรบลูกหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีรวมหนี้ (Debt Consolidation)”
3. ค่าธรรมเนียม
1. ยกเว้นเบี้ยปรับจากการผิดนัดชำระหนี้จนถึงวันที่ปรับปรุงบัญชีสินเชื่อมาตรการ
2. ยกเว้นค่าธรรมเนียมชำระคืนเสร็จสิ้นก่อนกำหนดอายุสัญญา สำหรับบัญชีสินเชื่อที่อยู่ระหว่างการพักชำระหนี้สินเชื่อ ตามมาตรการนี้
4. ช่องทางการให้บริการและระยะเวลาดำเนินการ
สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน
www.ibank.co.th ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564