- หน้าหลัก
- ผลิตภัณฑ์และบริการ
- มาตรการช่วยเหลือฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ
- มาตรการช่วยเหลือลูกค้าธนาคาร
- โครงการสินเชื่อ Soft Loan ฟื้นฟูธุรกิจ
โครงการสินเชื่อ Soft Loan ฟื้นฟูธุรกิจ

เพื่อช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคาร ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาท หรือลูกค้าสินเชื่อใหม่ที่ไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงินใด ๆ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจ ที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน และฟื้นฟูการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการ Refinance
คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ
- บุคคลธรรมดา / นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- เป็นลูกค้าเดิม ของธนาคารที่มีวงเงินสินเชื่อรวมไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยไม่นับรวมวงเงินภาระผูกพัน และวงเงินสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค หรือ
- เป็นลูกค้าใหม่ ที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินใด ๆ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยไม่นับรวมวงเงินสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค
- ไม่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET เว้นแต่เป็นบริษัทจดทะเบียน MAI สามารถยื่นขอสินเชื่อได้
- มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจ
- ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน
- ไม่เป็น NPF ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
วงเงินสินเชื่อต่อราย
- กรณีลูกค้าเดิม ให้วงเงินไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจ หรือไม่เกิน 50 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท
- กรณีลูกค้าใหม่ ให้วงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท (รวมทุกสถาบันการเงิน)
ระยะเวลาผ่อนชำระ
- สินเชื่อที่มีกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระคืนไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระกำไร 6 เดือน
- วงเงินทุนหมุนเวียนทบทวนวงเงินทุกปี ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
อัตรากำไรผ่อนชำระ
ปีที่ 1 – 2 = 2% ต่อปี (ยกเว้นการเรียกเก็บกำไรในช่วง 6 เดือนแรก)
ปีที่ 3 – 5 = ไม่เกิน 7% ต่อปี
ค่าธรรมเนียม
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมการให้สินเชื่อที่เป็นรายได้ของธนาคาร
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมเบี้ยปรับจากการผิดนัดชำระหนี้ใน 5 ปีนับตั้งแต่วันที่เบิกใช้วงเงิน
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมชำระคืนเสร็จสิ้นก่อนครบกำหนดอายุสัญญา
หลักประกัน
- บสย.ค้ำประกันสินเชื่อทุกรายเต็มวงเงินตามระยะเวลาสัญญาสินเชื่อ สำหรับสินเชื่อที่มีกำหนดระยะเวลาให้ลดภาระค้ำประกันตามภาระหนี้ที่ลดลงในแต่ละปี ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อตาม พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564
ยกเว้นการค้ำประกัน บสย.สำหรับลูกหนี้กลุ่ม Micro และ SMEs ขึ้นอยู่กับการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารภายใต้โควต้าที่กำหนด
- ธนาคารอาจพิจารณากำหนดเงื่อนไขหลักประกันหรือบุคคลค้ำประกันเพิ่มเติมตามความเสี่ยงธุรกิจ ทั้งนี้หากใช้หลักประกันเดิม (ถ้ามี) ไม่ต้องประเมินราคาหลักประกันใหม่
วงเงินโครงการ
1,000 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการ
เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 สิ้นสุดโครงการเมื่อวงเงินเต็ม หรือตามที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
สมัครใช้บริการ
อัตรากำไรสินเชื่อ
อัตรากำไรและส่วนลด | ร้อยละต่อปี |
---|---|
อัตราราคาขาย รายใหญ่ | 15.00 |
อัตรากำไรและส่วนลดสูงสุด กรณีปกติ รายใหญ่ | SPR+7.47 หรือ SPRL+7.60=15.00 |
อัตราราคาขาย รายย่อย | 18.00 |
ผลตอบแทนเงินฝาก
อัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ
รายการ/ชื่อเรื่อง | จำนวนเงิน |
---|---|
ค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ราชการ(1/) ค่าอากรแสตมป์ ต้นฉบับสัญญาสินเชื่อ | ค่าอากร ทุก 2,000 บาท คิด 1 บาท เศษของ 2,000 บาท คิด 1 บาท สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท |
ค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ราชการ(1/) ค่าอากรแสตมป์ คู่ฉบับสัญญาสินเชื่อ | ฉบับละ 5 บาท |
ค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ราชการ(1/) ค่าใช้จ่ายในการจดจำนอง (ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง) | ร้อยละ 1 ของวงเงินจดจำนอง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท |
ดาวน์โหลดไฟล์แบบฟอร์มการใช้บริการ
อิสลามและเศรษฐศาสตร์
ข่าวสารและ
กิจกรรม
+ ดูทั้งหมดธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เข้าร่วมงาน "Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” ซึ่งเป็นงานที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ และแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อของธนาคารที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ล่าสุดนี้
สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (สงร.) ขอเชิญร่วมงานสัมมนาออนไลน์ “ธปท.-แบงก์รัฐ เดินหน้าฟื้นฟูธุรกิจ SMEs หลัง COVID-19”